มะขาม
เป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล
ชื่อสามัญ :             Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tamarindus indica Linn.

วงศ์ :                      CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น ๆ :           ส่า มอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ(นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว
ลักษณะทั่วไป :
ต้น :     เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ

ใบ :     เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่

ดอก :   ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว

ผล :     เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่            ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ :
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ :
เนื้อไม้ ใบแก่ ใบอ่อนและดอก เนื้อในผล เมล็ดแก่
สรรพคุณ :
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
อื่น ๆ :
เมล็ดมะขาม ใช้เพาะอย่างถั่วงอกใช้นำมาทำเป็นแกงส้มกิน เป็นอาหารได้และในประเทศอินเดียนิยมใช้เมล็ดในนำมาป่นให้ละเอียดแล้วต้มกับ ผ้าเพื่อให้ผ้าแข็ง เหมือนกับลงแป้ง
คุณค่าทางโภชนาการ :
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
ส่วนที่นำมาใช 
- ฝักอ่อน ฝักแก่ ดอก
- เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก)
- เปลือก (สด - แห้ง)
- ใบอ่อน - แก่ 
สารทีมีคุณประโยชน
- ยอดอ่อนของมะขาม มีวิตามินเอและวิตามินซีสูง และยังมี …
- โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันกากใบ
- แคลเซียม และฟอสฟอรัส
- มะขามเปียกมีสารกรดอินทรีย์ เช่น กรดซกรด กรดทาทาริค กรดมาลิค
- มีสารพวกกัม (gum) และเพคติน (pectin)
วิธีทำยานวดผม
๑. นำมะขามเปียกมาจำนวนหนึ่ง (มากน้อยตามความต้องการ)
๒. ผสมกับน้ำสะอาด หรือจะเป็นน้ำอุ่นก็ได้ ้
๓. ใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกผสมกับน้ำ
๔. น้ำที่ได้จะออกลักษณะเป็นเมือก (อย่าให้เหลวมาก)
๕. นำน้ำยานั้นมานวดให้ทั่วศีรษะ (นวดหลังจากสระผมแล้ว)
๖. ใช้ผ้าโพกหรือถุงพลาสติกคลุม ทิ้งไว้ ๑๕ - ๓๐ นาที
ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยฆ่าเหา ฆ่าเชื้อรา รักษารากผม
- ที่สำคัญในบางท่าน ที่ต้องการจะเปลี่ยนสีผมให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณจะได้สีผมที่ออกไปเป็นสีเม็ดมะขาม และสีโค้ก
วิธีทำน้ำยาอาบน้ำ
๑. นำใบมะขามมาจำนวนหนึ่ง (ยอด - อ่อนหรือแก่ก็ได้ แล้วแต่จะต้องการ)
๒. นำน้ำสะอาดใส่ในภาชนะ ปี๊บ หม้อ ฯลฯ
๓. นำขึ้นตั้งไฟ
๔. พอน้ำเริ่มเดือด ให้ใส่ใบมะขามที่เตรียมไว้ลงไป แล้วปิดฝา
๕. เคี่ยวอยู่ประมาณ ๓๐ นาที จากที่เดือดอยู่แล้ว
๖. จากนั้นลงจากเตา ปล่อยไว้ให้เย็น หรือจะใช้ผสมกับน้ำเย็น
๗. อาบน้ำยาดังกล่าว
๘. อาบอยู่ ๒ - ๓ ครั้งก็จะเห็นผล
ผลที่ได้รับคือ
- ช่วยให้ผดผื่นคันที่เป็นตามร่างกายหายไป
- ช่วยให้ผิวพรรณดี
- รักษาเชื้อราบนผิวหนังได้ ้
(ภาคอีสานมักจะใช้อาบให้กับแม่ลูกอ่อน หรือคนที่เป็นตุ่มคัน และเป็นกลากเกลื้อน)
สรรพคุณทางยา
- เป็นยาระบายอ่อน ๆ
- แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน
- ถ่ายพยาธิลำไส้ (ใช้เนื้อในจากเมล็ด)
- แก้ไอขับเสมหะ
- น้ำมะขามลดอุณหภูมิในร่างกายและแก้ไข้ได้
ALLERY

มะขาม


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamarindus indica Linn.

ชื่อสามัญ
Tamarind
ชื่อท้องถิ่น
• ภาคกลาง เรียก มะขามไทย

• ภาคใต้ เรียก ขาม
• นครราชสีมา เรียก ตะลูบ
• กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี เรียก ม่วงโคล้ง
• เขมร – สุรินทร์ เรียก อำเปียล
ลักษณะพันธุ์
มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนาสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยวและหวาน

การปลูก

มะขามขึ้นได้กับดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ในดินเหนียวทนแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน ใช้กิ่งพันธุ์ปลูกโดยการขุดหลุมและใส่ปุ๋ยที่ก้นหลุมก่อน ดูแลรักษาเหมือนกับพืชทั่วไป นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์

ตลาดผลไม้


1. ตลาดส่งออก 

เพิ่มขีดความสามารถส่งออก
มาตรการกีดกันทางการค้า
กฏระเบียบอาหารปลอดภัยของ UE
ระบบความปลอดภัยอาหารของคู่ค้า
ระบบความปลอดภัยอาหารของไทย
ตรวจสอบตลาดญี่ปุ่น
พิกัดผลไม้
รายชื่อ web กฏหมายอาหารของต่างประเทศ
web กฏหมายอาหารต่างประเทศ (ต่อ)
 hollister clothing

2. ตลาดภายในประเทศ
กองส่งเสริมระบบตลาด
ข้อมูลตลาด จ.ราชบุรี
ข้อมูลสำนักงานสถิติ
ตลาดกลางสินค้าเกษตร
ตลาดข้อตกลง
ตลาดผลไม้
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
เปิดสู่ตลาดเกษตรล่วงหน้า
ศูนย์กลางตลาดสินค้าเกษตร
ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก
สถิติราคาผลไม้ ตลาดสี่มุมเมือง ปี 2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548 / 2549
สำมะโนเกษตร พืชยืนต้น ปี 2546
สำมะโนเกษตร ไม้ผลและสวนป่าปี 2546
ราคาตลาดสี่มุมเมืองสินค้าอัพเดทประจำวัน

3. ผลไม้ส่งออก
สถิติการส่งออกสินค้าหลัก
สรุปสถานการณ์นำเข้า-ส่งออกผลไม้ระหว่างไทย-จีน
มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมทั้งหมด รายเดือน ปี 2543 - 2549
มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมทั้งหมด รายเดือน ปี 2547 - 2548
4. ราคาผลไม้
ราคาปลีก 2548


สถิติราคาผลไม้สี่มุมเมืองปี 2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548 / 2549
ข้อมูลเกษตร
ข่าวสินค้าเกษตร (กรมวิชาการเกษตร)
ราคาสินค้าเกษตร (กรมการค้าภายใน)
ราคาผัก-ผลไม้ตลาดไท
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ปี 2547
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรที่เกษตรกรขายได้ประจำเดือน ตุลาคม 2550
ดัชนีราคาที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา และดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เดือนพฤศจิกายน 2550
5. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร


6. งานวิจัย
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอุตสาหกรรมผัก ผลไม้อบกรอบ
7. งานวิเคราะห์
ผลไม้สด ผลไม้ของประเทศจีน / อุตสาหกรรมผลไม้ของประเทศไทย
8. ข้อมูลการเกษตร
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การปลูกมะขาม
ถิ่นกำเนิด / ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ / ลักษณะของฝัก
พันธุ์มะขาม / ดินปลูกมะขาม / การขยายพันธุ์ / การปลูกมะขาม
การเก็บเกี่ยว / ผลผลิต / การดูแลรักษาต้นมะขาม หลังฤดูการเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษา :
การให้น้ำ / การกำจัดวัชชพืช / การใส่ปุ๋ย
โรคและแมลง :
โรคราแป้งของมะขาม / หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง
หนอนเจาะฝัก / หนอนปลอก / หนอนบุ้ง /
เพลี้ยต่าง ๆ / ไร
กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมและผึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักส่งเสริมและผึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนครปฐม

มะขาม

มะขาม
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร
มะขาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
มะขาม
ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด มะขามหวาน / มะขามเปรี้ยว / มะขามเทศ
ฤดูกาลผลไม้ในประเทศไทย
มกราคม / กุมภาพันธ ์ / มีนาคม / เมษายน / พฤษภาคม / มิถุนายน
กรกฎาคม / สิงหาคม / กันยายน / ตุลาคม / พฤศจิกายน / ธันวาคม
9. แผนที่
แผนที่แสดงเนื้อที่เพาะปลูกผลไม้ในประเทศไทย ปี 2546
มะขาม
สถิติการปลูกผลไม้รายจังหวัด ปี 2546
มะขาม
แผนที่ทางภูมิศาสตร์
ปริมาณน้ำฝน / การชลประทาน / การคมนาคม / ลุ่มน้ำ
แผนที่ทางกายภาพ
แสดงเส้นทางคมนาคม
แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 39 ปี ของประเทศไทย
แผนที่จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
แผนที่แสดงความสูงของพื้นที่
แผนที่แสดงพื้นที่เขตชลประทาน
แผนที่การใช้ที่ดินของประเทศไทย ปี 2537 จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT
แผนที่ลุ่มน้ำหลักในประเทศไทย
แผนที่แสดงชุดดินในประเทศไทย
แผนที่แสดงเขตการปกครองประเทศไทย

10. ประโยชน์ - สรรพคุณทางยา
เริมและงูสวัด เอาเปลือกมาฝนฝาละมีหม้อดินกับน้ำทาแผล
ลดความดัน นำดอกสดไม่จำกัดใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน
ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10-20 ฝัก (หนัก 70-150 กรัม) จิ้มเกลือ รับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอา เนื้อในเมล็ดไปแช่ในน้ำเกลือจนนุ่มรับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด
ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
ท้องเดิน รากมะขาม 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอประมาณจนเดือด แล้วดื่ม 1 ถ้วยกาแฟจะบรรเทาอาการ
สมุนไพรไทย / สรรพคุณ 1 / สรรพคุณ 2
11. คุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอมาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ทาริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ดี แพทย์ไทยเชื่อว่ารสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
12. คติความเชื่อ
ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้านเพื่อ ป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายไม่ให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล นามถือเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
13. อาหารที่มีมะขามเป็นส่วนประกอบ
แกงมัสมั่นเนื้อ / ผัดไทย


คน ไทยทุกภาครับประทานยอดอ่อน ดอกและฝักมะขามเป็นผักและเป็นเครื่องปรุงรส เนื้อในของฝักมะขามแก่นำมาคั้นกับน้ำใช้ปรุงรสเปรี้ยว ภาคกลางนิยมนำฝักอ่อนมาปรุงเป็นน้ำพริกมะขาม ใบมะขามอ่อนนำมาปรุงเป็นต้มโคล้ง เช่นต้มโคล้งปลากรอบ ทำต้มกะทิกับหมูและฟัก นำมาทำแกงจืด ชาวอีสานนำยอดอ่อนมาใส่ ต้มไก่ ต้มปลาและแกงเห็ด ชาวเหนือและชาวใต้ใช้ยอดมะขามใส่แกง เช่นแกงส้มยอดมะขามกับปลาเป็นต้น

ประโยชน์

- ใบมะขามแก่ช่วยขับเสมหะ แก้บิด แก้ไอ เนื้อในของฝักมะขามแก่ แก้ท้องผูก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ

รายการอาหารที่มี มะขาม เป็นส่วนประกอบ

  • แกงมัสมั่นเนื้อ
  • ผัดไทย
« ส่วนประกอบและเครื่องเทศในอาหารไทย

Popular Posts

Total Pageviews