มะขามหวานเพชรบูรณ์
มะขามหวานเป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิมจนได้ชื่อว่า เมืองมะขามหวาน เมื่อเอ่ยถึงเมืองมะขามหวานประชาชนโดยทั่วไปก็เข้าใจเป็นอย่างเดียวกันว่าหมายถึง เมืองเพชรบูรณ์ มะขามหวานของจังหวัดมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์หมื่นจง พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์ อินทผาลัม พันธุ์สีชมภู พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง พันธุ์หลังแตก พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์โป่งตูม พันธุ์ผู้ใหญ่มา เป็นต้น
พันธุ์หมื่นจง ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลหล่มเก่า (เยื้องวัดสระเกศ) อายุประมาณ ๑๕๐ ปี ปลูกโดย หมื่นจงประชากิจ (ฉิม พุทธสิมมา) ไม่มีหลักฐานว่าหมื่นจงประชากิจได้นำพันธุ์มาจากที่ใด ปัจจุบันโคนต้นโต ประมาณ ๓ คนจับมือกันจึงจะรอบต้น กิ่งก้านถูกตัดทิ้งมากเพราะปกคลุมหลังคาบ้าน และยังได้ผลอย่าง สม่ำเสมอ ลักษณะฝักโค้งเกือบครึ่งวงกลม มีความหวานจัด มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒ และมีกรดทาทาริคร้อยละ ๑.๙๐
พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) เป็นพันธุ์ที่กลายมาจากพันธุ์หมื่นจง กล่าวคือ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๓ นายหยัด กองมูล ได้นำเมล็ดมะขามหวานพันธุ์หมื่นจงไปปลูกในที่ดินของตนประมาณ ๒๐ เมล็ด หลังจาก นั้นประมาณ ๗ ปี จึงมีผลปรากฎว่าเปรี้ยวที่สุด ๑๗ ต้น เปรี้ยวอมหวาน (มะยงชิด) ๑ ต้น หวานแต่ฝักเล็ก ๑ ต้น หวานจัดฝักใหญ่ที่สุด ๑ ต้น ต้นนี้คือ มะขามหวานต้นตระกูลพันธุ์สีทอง หรือพันธุ์นายหยัด ลักษณะใบ ใหญ่หนา ถ้าสมบูรณ์เต็มที่เกือบเท่าใบแค ยอดอ่อนออกใหม่ออกสีชมภู-แดง ฝักกลม ฝักใหญ่มากโค้งเล็ก น้อย โค้งเป็นครึ่งวงกลมบ้าง ลักษณะเนื้อค่อนข้างเหลืองเนื้อล่อนหนา รสหวานสนิท มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒- ๔๔ จำนวนฝักต่อกิโลกรัม ๓๐-๓๕ ฝัก
พันธุ์อินทผาลัม เป็นมะขามพันธุ์เบา ฝักตรงโค้งนิด ๆ รสเปรี้ยวนิด ๆ ต้นเดิมอยู่ที่บ้านหนองเล ตำบล หินฮาว อำเภอหล่มเก่า ฝักจะสุกระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม
พันธุ์ประกายทอง มะขามหวานพันธุ์นี้แต่เดิมชื่อพันธุ์ตาแป๊ะ ปลูกครั้งแรกอำเภอชนแดน จังหวัด เพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลางออกดอกและติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักยาวใหญ่โค้งงอไม่มีเหลี่ยม เมื่อฝักสุกเปลือกจะบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อฉ่ำเป็นทรายหนามีสีน้ำผึ้ง เมล็ดเล็ก ฝักสุกในเดือนมกราคม
พันธุ์ศรีชมภู มะขามหวานพันธุ์นี้ นายอุดม ศรีชมภู ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก ตำบลน้ำร้อน อยู่บ้าน เลขที่ ๙๗/๑ หมู่ ๒ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ตั้งชื่อมะขามพันธุ์นี้ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขาม หวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ฝักตรงกลมใหญ่แบนเหมือนท้องปลิงหรือฝักตรง เริ่มออกฝักในเดือนพฤษภาคม ฝัก สุกมีสีน้ำตาล เปลือกบางเนื้อหนาสีน้ำตาลอมเหลืองเมล็ดเล็กและล่อน รสชาติหวานกรอบ ฝักสุกในเดือน ธันวาคม
พันธุ์ปากดุก มะขามหวานพันธุ์นี้เดิมปลูกที่บ้านคลองปากดุก ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง อำเภอ หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลาง ติดฝักในเดือนพฤษภาคม โค้งแบนเล็กน้อย หรือโค้งงอปานกลาง ฝักสุกมีสีน้ำตาล เนื้อหนาฉ่ำ ฝักสุกในเดือนธันวาคม
พันธุ์น้ำผึ้ง มะขามหวานพันธุ์นี้ นายวสันต์ เพชระบูรณิน อดีตเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชร บูรณ์เป็นผู้ตั้งชื่อลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักเล็กยาว โค้งงอมาก ฝักสุกจะมีเนื้อหนา รสชาติหอมหวานคล้ายน้ำผึ้งแต่ฝาด ฝักสุกในเดือนธันวาคม
พันธุ์ขันตี มะขามหวานพันธุ์นี้ตั้งชื่อผู้ที่นำมาปลูกคนแรก คือ นายขันตี แก้ววงศ์ อยู่บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ ๑๑ ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
วิธีปลูก
นิยมปลูกกันด้วยการทาบกิ่ง หรือกิ่งตอน ไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ด หากปลูกให้ถูกวิธีและดูแลรักษาดี จะ ให้ฝักภายใน ๓-๔ ปี
คุณค่า
ในมะขามมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์คือ
- คาร์โบไฮเดรท (น้ำตาล) ร้อยละ ๔๒
- วิตามินซี
- เกลือแร่ แคลเซี่ยม
- สารให้รสเปรี้ยว คือ กรดทาทาริค
ประโยชน์
- มะขาม เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ได้แก่
- ใบอ่อน นำไปประกอบอาหารปรุงรสเปรี้ยว
- ใบแก่ เป็นสมุนไพรนำไปต้มน้ำอาบทำให้ผิวหนังสะอาดสดชื่น
- ลำต้น กิ่ง นำไปทำเขียง เผาถ่าน
- ดอก นำไปประกอบอาหาร
- เนื้อ เป็นอาหาร, เครื่องดื่ม,ขัดผิวกาย,ขัดโลหะ
- เมล็ด บดเป็นแป้งนำไปประกอบอาหารได้
- รกหุ้มเนื้อมะขาม นำไปขัดโลหะให้เป็นเงางาม
- เนื้อมะขามเปรี้ยว นำไปปรุงรสอาหารได้รสเปรี้ยว
มะขามหวานเพชรบูรณ์เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกเป็นอย่างมาก
มะขามหวานเป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิมจนได้ชื่อว่า เมืองมะขามหวาน เมื่อเอ่ยถึงเมืองมะขามหวานประชาชนโดยทั่วไปก็เข้าใจเป็นอย่างเดียวกันว่าหมายถึง เมืองเพชรบูรณ์ มะขามหวานของจังหวัดมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์หมื่นจง พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์ อินทผาลัม พันธุ์สีชมภู พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง พันธุ์หลังแตก พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์โป่งตูม พันธุ์ผู้ใหญ่มา เป็นต้น
พันธุ์หมื่นจง ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลหล่มเก่า (เยื้องวัดสระเกศ) อายุประมาณ ๑๕๐ ปี ปลูกโดย หมื่นจงประชากิจ (ฉิม พุทธสิมมา) ไม่มีหลักฐานว่าหมื่นจงประชากิจได้นำพันธุ์มาจากที่ใด ปัจจุบันโคนต้นโต ประมาณ ๓ คนจับมือกันจึงจะรอบต้น กิ่งก้านถูกตัดทิ้งมากเพราะปกคลุมหลังคาบ้าน และยังได้ผลอย่าง สม่ำเสมอ ลักษณะฝักโค้งเกือบครึ่งวงกลม มีความหวานจัด มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒ และมีกรดทาทาริคร้อยละ ๑.๙๐
พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) เป็นพันธุ์ที่กลายมาจากพันธุ์หมื่นจง กล่าวคือ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๓ นายหยัด กองมูล ได้นำเมล็ดมะขามหวานพันธุ์หมื่นจงไปปลูกในที่ดินของตนประมาณ ๒๐ เมล็ด หลังจาก นั้นประมาณ ๗ ปี จึงมีผลปรากฎว่าเปรี้ยวที่สุด ๑๗ ต้น เปรี้ยวอมหวาน (มะยงชิด) ๑ ต้น หวานแต่ฝักเล็ก ๑ ต้น หวานจัดฝักใหญ่ที่สุด ๑ ต้น ต้นนี้คือ มะขามหวานต้นตระกูลพันธุ์สีทอง หรือพันธุ์นายหยัด ลักษณะใบ ใหญ่หนา ถ้าสมบูรณ์เต็มที่เกือบเท่าใบแค ยอดอ่อนออกใหม่ออกสีชมภู-แดง ฝักกลม ฝักใหญ่มากโค้งเล็ก น้อย โค้งเป็นครึ่งวงกลมบ้าง ลักษณะเนื้อค่อนข้างเหลืองเนื้อล่อนหนา รสหวานสนิท มีน้ำตาลร้อยละ ๔๒- ๔๔ จำนวนฝักต่อกิโลกรัม ๓๐-๓๕ ฝัก
พันธุ์อินทผาลัม เป็นมะขามพันธุ์เบา ฝักตรงโค้งนิด ๆ รสเปรี้ยวนิด ๆ ต้นเดิมอยู่ที่บ้านหนองเล ตำบล หินฮาว อำเภอหล่มเก่า ฝักจะสุกระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม
พันธุ์ประกายทอง มะขามหวานพันธุ์นี้แต่เดิมชื่อพันธุ์ตาแป๊ะ ปลูกครั้งแรกอำเภอชนแดน จังหวัด เพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลางออกดอกและติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักยาวใหญ่โค้งงอไม่มีเหลี่ยม เมื่อฝักสุกเปลือกจะบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อฉ่ำเป็นทรายหนามีสีน้ำผึ้ง เมล็ดเล็ก ฝักสุกในเดือนมกราคม
พันธุ์ศรีชมภู มะขามหวานพันธุ์นี้ นายอุดม ศรีชมภู ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคก ตำบลน้ำร้อน อยู่บ้าน เลขที่ ๙๗/๑ หมู่ ๒ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ตั้งชื่อมะขามพันธุ์นี้ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขาม หวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ฝักตรงกลมใหญ่แบนเหมือนท้องปลิงหรือฝักตรง เริ่มออกฝักในเดือนพฤษภาคม ฝัก สุกมีสีน้ำตาล เปลือกบางเนื้อหนาสีน้ำตาลอมเหลืองเมล็ดเล็กและล่อน รสชาติหวานกรอบ ฝักสุกในเดือน ธันวาคม
พันธุ์ปากดุก มะขามหวานพันธุ์นี้เดิมปลูกที่บ้านคลองปากดุก ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง อำเภอ หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์กลาง ติดฝักในเดือนพฤษภาคม โค้งแบนเล็กน้อย หรือโค้งงอปานกลาง ฝักสุกมีสีน้ำตาล เนื้อหนาฉ่ำ ฝักสุกในเดือนธันวาคม
พันธุ์น้ำผึ้ง มะขามหวานพันธุ์นี้ นายวสันต์ เพชระบูรณิน อดีตเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชร บูรณ์เป็นผู้ตั้งชื่อลักษณะประจำพันธุ์ มะขามหวานพันธุ์นี้เป็นพันธุ์เบา ติดฝักในเดือนพฤษภาคม ฝักเล็กยาว โค้งงอมาก ฝักสุกจะมีเนื้อหนา รสชาติหอมหวานคล้ายน้ำผึ้งแต่ฝาด ฝักสุกในเดือนธันวาคม
พันธุ์ขันตี มะขามหวานพันธุ์นี้ตั้งชื่อผู้ที่นำมาปลูกคนแรก คือ นายขันตี แก้ววงศ์ อยู่บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ ๑๑ ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
วิธีปลูก
นิยมปลูกกันด้วยการทาบกิ่ง หรือกิ่งตอน ไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ด หากปลูกให้ถูกวิธีและดูแลรักษาดี จะ ให้ฝักภายใน ๓-๔ ปี
คุณค่า
ในมะขามมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์คือ
- คาร์โบไฮเดรท (น้ำตาล) ร้อยละ ๔๒
- วิตามินซี
- เกลือแร่ แคลเซี่ยม
- สารให้รสเปรี้ยว คือ กรดทาทาริค
ประโยชน์
- มะขาม เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ได้แก่
- ใบอ่อน นำไปประกอบอาหารปรุงรสเปรี้ยว
- ใบแก่ เป็นสมุนไพรนำไปต้มน้ำอาบทำให้ผิวหนังสะอาดสดชื่น
- ลำต้น กิ่ง นำไปทำเขียง เผาถ่าน
- ดอก นำไปประกอบอาหาร
- เนื้อ เป็นอาหาร, เครื่องดื่ม,ขัดผิวกาย,ขัดโลหะ
- เมล็ด บดเป็นแป้งนำไปประกอบอาหารได้
- รกหุ้มเนื้อมะขาม นำไปขัดโลหะให้เป็นเงางาม
- เนื้อมะขามเปรี้ยว นำไปปรุงรสอาหารได้รสเปรี้ยว
มะขามหวานเพชรบูรณ์เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้ปลูกเป็นอย่างมาก